Full Version เคล็ดลับ...รับมือก่อนรถเสีย

cncautopart.com > Article

เคล็ดลับ...รับมือก่อนรถเสีย Date : 2014-07-22 22:22:48

หลายคนคงมีคำถามนี้เกิดขึ้นในใจว่า “ถ้าหากรถเราเกิดเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาระหว่างเดินทาง แล้วเราจะทำยังไง กันดี” เพราะใช่ว่าคนที่ขับรถยนต์ได้ทุกคนจะสามารถรู้เรื่องรถยนต์ทุกคนเมื่อไหร่ น้อยคนนักที่ขับรถได้และสามารถแก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์ได้ นับเป็นเปอร์เซ็นต์จะมีถึง 10% หรือเปล่ายังไม่รู้แต่ที่แน่ ๆ คนที่ว่าขับรถและซ่อมรถเป็นในเวลา เดียวกันนั้นคงเป็น “ผู้ชาย” เสียมากกว่า

ต้้องรู้จักรถที่ขับก่อน

    ก่อนจะแก้ไขรถที่เกิดปัญหาได้ ก่อนอื่นคุณต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณรู้จักรถที่คุณขับอยู่หรือไม่ คำว่ารู้จักนี้ไม่ใช่แค่รู้ เพียงว่ารถที่ขับอยู่เป็นรถเก๋งหรือรถกระบะ ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลเท่านั้น แต่ควรจะรู้ด้วยว่ารถที่ขับอยู่นั้นยี่ห้ออะไร รุ่น อะไร ปีที่ผลิตคือปีอะไร ซึ่งปีที่ผลิตนี้เขาจะใช้ปีสากลคือ ปีค.ศ.กัน เช่น ปี 2000 ก็หมายถึง เป็นรถที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 2000 ก็เท่ากับ พ.ศ.2543 แบบนี้เป็นต้น นอกจากควรจะรู้ยี่ห้อ รุ่นและปีที่ผลิตรถคันที่ขับ สิ่งที่ไม่น่าลืมอีกอย่างหนึ่งก็คือ หมายเลขทะเบียนและสีของรถหรือจุดเด่นต่าง ๆ บนตัวรถที่เราขับ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้การช่วยเหลือของเหล่า “ผู้มีน้ำใจ” ทั้งหลาย หารถของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

เบอร์โทร.ต่าง ๆ ควรมีไว้

    เมื่อจำเป็นสิ่งที่ต่าง ๆ ที่ว่าไว้ข้างต้นได้แล้ว สิ่งที่ควรมีติดรถหรือเมมโมรี่ไว้ในโทรศัพท์มือถือ เบอร์โทร.ของผู้มีน้ำใจ ช่วยเหลือสังคมทั้งหลายแหล่ เช่น จส.100 สวพ.91 และร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น แต่เบอร์ที่ควรจะจำได้ง่ายสุด ๆน่าจะเป็น เบอร์ 191 ของหน่วยงานตำรวจไทย โทร.แจ้งได้ทุกเรื่อง ยกเว้นยืมสตางค์ อีกเบอร์ที่ไม่น่าลืมก็คือ 1133 สอบถามเบอร์ โทร.ทั่วประเทศ ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ  ที่ว่านี้ จะเป็นการโทร.ฟรีส่วนใหญ่ แต่ก็มีอีกเบอร์ที่ช่วยได้ทุกเรื่องเหมือนกันแต่ต้อง เสียสตางค์เพิ่มนิดหน่อย ก็ BUG ไง

รถเสียต้องมีสติ

    สิ่งแรกที่ควรจะต้องทำเวลารถเสียหรือมีปัญหา และต้องทำให้ได้ด้วยคือ “การมีสติ” เริ่มตั้งแต่การควบคุมรถที่มีปัญหา เข้าข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉินหากทำได้ตั้งสติอีกครั้ง รวบรวมลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังว่าก่อนจะมีปัญหามีอาการเป็นอย่าง ไร จากนั้นหยิบโทรศัพท์มือถือโทร.เบอร์คนที่จะพอช่วยเหลือได้ เช่น ถ้ามีแฟนก็โทร.หาแฟน แต่ถ้าคิดว่าแฟนคงช่วยอะ ไรไม่ได้นัก ก็โทร.หาคนอื่น เช่น ใครที่รู้จักและพอมีความรู้ทางด้านรถยนต์ แต่ถ้าไม่มีใครในความคิด ก็โทร.ไปเบอร์ ต่าง ๆ ที่บอกไว้

    จากนั้นก็เล่าเหตุการณ์ให้ผู้ที่จะมาช่วยเหลือฟังว่ารถเป็นอะไร มีอาการอะไรก่อนจะเสีย ถ้าเป็นคนที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย กับเรา ก็อย่าลืมบอกเขาด้วยว่ารถเรายี่ห้ออะไร รุ่นอะไร เกียร์ออโต้หรือเกียร์ธรรมดา เครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล ทั้งนี้ เพื่อให้คนที่จะมาช่วยเหลือมีข้อมูล และตระเตรียมอะไหล่หรือเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ มาด้วย จะได้ไม่เสียเวลา

เครื่องมือช่าง ยางอะไหล่ต้องมีติดรถไว้

    แม้เราจะไม่ได้เป็นช่าง และซ่อมรถไม่เป็นสักอย่าง แต่ควรมีเครื่องมือช่างที่จำ เป็น อย่างเช่น ไขควง คีมปากขยาย ประ แจปากตาย ฯลฯ ติดท้ายรถเสมอซึ่ง เครื่องมือ ทั้งหลายทั้งปวงที่ว่ามานี้ปรกติเขาจะมีติดรถมาให้แล้วเว้นแต่เป็นรถมือ สองหรือมือสามบางคัน ที่เจ้าของเก่าไม่ยอมให้มากับรถขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าของรถรุ่นนี้นะ นอกจากจะมีเครื่องมือช่างแล้วควรต้องมีสาย พ่วงแบตเตอรี่ไว้สัก 1 ชุด ยางอะไหล่และประแจถอดนอตล้ออีก 1 ชุด และบาง ท่าน ที่ล้อเป็นล้อแม็กที่มีฝาครอบแบบพิเศษ ก็ต้องมีเครื่องมือพิเศษสำหรับถอด ฝาครอบนอตล้อด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษที่ว่าเวลายาง แบน จะเปลี่ยนเอายางอะไหล่ใส่แทน ก็จบเหมือนกันนะงานนี้ บางคนอาจจะถาม ว่ามีเครื่องมือช่างติดรถไว้ทำไมก็เราซ่อมรถไม่เป็นนี่นาก็ไม่ได้ให้เราใช้ สักหน่อย เครื่องมือนี่ เพียงแต่ให้คนที่เขามาช่วย ซึ่งเราพอซ่อมรถได้เอามาใช้ซ่อมรถเรา นั่นเอง สายพ่วงแบตเตอรี่ก็ไว้ใช้พ่วงแบตฯ กับรถคนอื่น เวลาเกิดแบตเตอรี่ไฟอ่อน หรือไฟไม่ชาร์จและยางอะไหล่ที่เก็บ ไว้ท้ายรถก็ควรจะเช็กลมยางให้เต็มอยู่เสมอเช็กสักเดือนละครั้งหรือสองครั้ง ก็้ได้ เติมเกินเผื่อ ๆ ไว้สักหน่อยก็จะดีไม่น้อย

ก่อนจะให้เสีย หมั่นดูแลไว้ก่อนดีกว่าไหม

    นี่แหละ อยากจะแนะนำให้เจ้าของรถและคนขับรถทุก ๆ คนทำ คือ ควรจะดูแลรักษารถให้ดีก่อนที่รถของเราจะไปเสีย กลางทาง น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เช่น ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เกียร์ เฟืองท้าย ตามระยะทางที่กำหนด นำรถเข้าตรวจ เช็กตามศูนย์บริการในช่วงเวลาหรือระยะทางที่กำหนด หากเราทำถูกต้องนำรถเข้าเช็ก เปลี่ยนอะไหล่ตามอายุการใช้งาน ก็แล้ว รถยังเสียกลางทางอีก ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วล่ะ ไม่ต้องคิดมาก


ความคิดเห็น